ที่ MUICT ตอนนี้ก็จะเข้าเทอม 2 แล้วซึ่งจะเรียน Object Oriented Programming กัน แล้วแน่นอนว่าจะหลุดพ้นอะไรไปไม่ได้นอกจาก Java ดังนั้นเราก็จะมาบอกวิธีการตั้งค่า VS Code ไว้ใช้ทำงานกับไฟล์ .java
กันนะครับ
ขั้นตอนที่ 1: เตรียมของเล่นให้ครบ
เหมือนตอนลง VS Code กับ gcc เลยแต่ต่างกันที่ว่าเราจะลง JDK (Java Development Kit) แทน gcc
Visual Studio Code สามารถโหลดตรงๆจากเว็บของเค้าได้เลย
Java SE Development Kit 11 ไปโหลดและติดตั้งที่เว็บของ Oracle
ขั้นตอนที่ 2: ติดตั้ง JDK 11
ก็โหลดไฟล์มาแล้วก็ติดตั้งกันไปก่อน
Windows
โหลดมาเป็นแบบ .exe
แล้วก็ติดตั้งไป
macOS
โหลดมาเป็นแบบ .dmg
แล้วก็ติดตั้งไป
พอเสร็จแล้วก็ไปเพิ่ม Environment Variable
คำเตือน! ตั้งสมาธิกับขั้นตอนนี้ให้ดีเพราะอาจทำให้คอมเจ๊งได้
Windows
ให้ไปที่ Control Panel > System & Security > System แผงด้านซ้ายให้กดไปที่ Advanced System Setting
แล้ว Popup ก็เด้งมาให้กดไปที่ Environment Variables
คราวนี้เราจะไปยุ่งกับ System Variable ข้างล่าง
แล้วก็กด New
คราวนี้ก็เพิ่มของอยู่ 2 อย่าง
- Variable Name ให้ตั้งชื่อว่า
JAVA_HOME
- Variable Value ก็ให้ใส่ Path ที่ติดตั้ง JDK เข้าไปอย่างของเราก็จะเป็น
C:\Program Files\Java\jdk-11.0.1
แล้วก็เพิ่ม C:\Program Files\Java\jdk-11.0.1\bin
ลงไปใน PATH เหมือนตอนที่ทำกับ gcc ด้วย
กด OK
เรื่อยๆให้ออกมาแล้ว Restart เครื่องรอบนึง ไม่ก็ Log off แล้ว Sign in ใหม่
macOS
เปิด Terminal.app Applications > Utilities > Terminal แล้วพิมพ์ตามนี้เพื่อเปิด Editor ไฟล์ .profile
ขึ้นมา
$ emacs .profile
แล้วก็พิมพ์ตามนี้ ในกรณีนี้ JDK จะอยู่ที่ /Library/Java/Home
JAVA_HOME=/Library/Java/Home
export JAVA_HOME;
จากนั้นก็ Save แล้วออกมาจาก emacs ซะ เพื่อให้ชัวร์ๆก็ลอง Log off แล้ว Sign in ใหม่ด้วยก็โอเค
ขั้นตอนที่ 3: ตั้งค่า VS Code
Extenstion ที่เราจะติดตั้งนั่นก็คือ Java Extension Pack แล้ว Install ซะและ Reload ไปตามระเบียบ
พอติดตั้งเสร็จแล้วก็ไปที่ File > Preferences > Settings แล้วค้นหาคำว่า java.home
แล้วก็กดให้ไป Edit ต่อใน settings.json
จากนั้นก็ที่ User settings ก็ใส่ค่านี้เข้าไป
{
"java.home": "C:\\Program Files\\Java\\jdk-11.0.1"
}
อันนี้จะไว้ใช้ Specify path ของ Java บน VS Code อย่างของเราเป็น C:\Program Files\Java\jdk-11.0.1
แล้วก็ Reload อีกทีโดยกด F1
แล้วพิมพ์หา Reload Window
และกด ENTER
เพียงแค่นี้ก็พร้อมใช้งานแหล่วววววว
สร้าง Java Project
เอาจริงๆตั้งแต่ Java 11 มันก็เขียน .java
ตรงๆเลยก็ได้ แต่เดี๋ยวกันเหนียวเอาไว้เผื่อหลักสูตรไม่ทันตามเวลา
ก็ไปที่ Root Folder ที่จะวาง Project Folder เอาไว้ก่อน กรณีนี้ขอเป็น ~/Documents/workspace/java
$ cd ~/Documents/workspace/java
แล้วก็เปิด VS Code แม่ง!
$ code .
กด F1
แล้วหา Java: Create Java project
แล้วก็เลือกตำแหน่งเป็น Root Folder นี่แหละ
แล้วก็ตั้งชื่อโปรเจคเป็นชื่ออะไรก็ได้ตามที่ต้องการ อย่างอันนี้จะตั้งชื่อว่า riffydaddyallhome แล้วกด ENTER
#ริฟฟี่พ่อทุกสถาบัน
ผ่างงงงโปรเจคพร้อมใช้งานแล้ว!!
Debuging Project
ระบบ Debuging ของ VS Code จะบอกว่าเป็นอะไรที่สะดวกมากๆ เพราะเราสามารถเช็คการทำงานได้แบบขั้นต่อขั้นเลยทีเดียวโดยสามารถทำได้ตามนี้
กำหนดจุด Breakpoints เพื่อให้บอกว่าจะให้โปรแกรมหยุดที่จุดนี้ชั่วคราวก่อน จากนั้นกด F5
เพื่อเริ่มการ Debuging
จากนั้นโปรแกรมก็จะทำงานเรื่อยๆจนมาถึงจุดที่กำหนด Breakpoint แรกเอาไว้ ซึ่งบรรทัดที่หยุดอยู่จะยังไม่ทำงาน สั่งให้ทำงานต่อได้ด้วยการกดปุ่ม Step Into ที่วงไว้หรือ Shortcut คือ F11
แล้วสามารถย้อนขั้นตอนกลับได้ด้วยการ Step Out คือปุ่ม Shift + F11
คราวนี้พอมาถึง Breakpoint ต่อไปจะเห็นว่าตัว Debugger สามารถ Monitor ดูตัวแปรได้ด้วยเชนกัน!
แล้วพอมาทำ Lab จริงๆก็แนะนำว่าให้สร้างตัวแปรมาจำลอง Input ก่อนแล้วค่อยใส่ตัวรับ Input ไปตอนส่งงานจะดีกว่า
Editor Note
ตอนนี้ยังคิดอยู่ว่าจะทำยังไงให้ตัว Debugger Console สามารถรับ input ได้ก็เดี๋ยวรอติดตามอัพเดต Blog นี้ไปสักระยะนึงละกันแล้วจะมาเพิ่มวิธีให้
สรุป
จากจุดนี้ก็จะสามารถใช้งาน VS Code ในการเขียน Java ได้แล้ว และอีกคำแนะนำคือพยายามใช้งาน Debugger บ่อยๆเพราะถ้าใช้งานเป็นแล้วจะช่วยได้เยอะมากเวลาทำงานที่เป็น Project แล้วถ้ามีปัญหาอะไรสามารถสอบถามได้เสมอนะครับ ;)